


ตามที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ประกาศนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) นั้น เพื่อให้นโยบายดังกล่าวเกิด
ผลเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมาย จึงมีการกำหนดแนวทางโครงการสีเขียว ส่วนอำนวยการและสารบรรณ ดังนี้
1.ส่งเสริมแนวทางการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
2.ส่งเสริมการประหยัดและอนุรักษ์พลังงานโดยเน้นการใช้พลังงานสะอาด พลังงานทดแทน และพลังงานที่สร้างขึ้นใหม่ รวมถึงการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก
3.รณรงค์สร้างจิตสำนึกให้กับบุคลากรส่วนอำนวยการและสารบรรณ มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
4.ส่งเสริมการประหยัดและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมภายในส่วนอำนวยการและสารบรรณ โดยเน้นดำเนินการ 3 ด้าน ได้แก่ การลดการใช้ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำ กลับมาใช้ใหม่ (Recycle)
5.ประสานงานเพื่อปรับปรุงความปลอดภัยของอาคาร โดยรวมถึงการตรวจสอบอาคาร และการเตรียมการเผื่อกรณีฉุกเฉินต่างๆ
6.ปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เป็นพื้นที่สีเขียว และเอื้อต่อการทำงาน
7.สื่อสารนโยบายสิ่งแวดล้อมและพลังงานต่อบุคลากรในหน่วยงาน
โดยส่วนอำนวยการและสารบรรณ ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานโครงการสีเขียวภายในส่วน ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
1.นางโสภิดา พัฒน์ทอง ประธาน
2.นางเพ็ญประภา ขาวเขียว กรรมการ
3.นางเกศิณี พรหมชาติ กรรมการ
4.นางอัญธิษา ตรึกตรอง กรรมการ
5.นางสาวเสาวรส ไชยโม กรรมการ
6.นางสาวสุภักดิ์ มูลอักษร เลขานุการ
- การวางระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Setting and Infrastructure)
- การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Energy and Climate Change)
- การจัดการของเสียในหน่วยงาน (Waste)
- การจัดการน้ำ (Water)
- การขนส่ง (Transportation)
- การศึกษาของส่วนงาน (Education)
1.1ส่วนอำนวยการและสารบรรณ มีสำนักงานการปฏิบัติงาน ณ อาคารบริหาร บริเวณ ชั้น 1 และ ชั้น 2
1.2 ขนาดพื้นที่ที่ปกคลุมด้วยพืชพรรณ
ส่วนอำนวยการและสารบรรณ มีการใช้อาคารร่วมกันหน่วยงานอื่นๆ และได้มีการจัดตกแต่งส่วนหย่อม รอบๆ อาคาร โดยส่วนภูมิสถาปัตย์
1.3 บุคลากร มีจำนวน 32 คน แบ่งเป็น
1.หัวหน้าส่วน 1 คน
2.เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 15 คน
3.พนักงานธุรการ 5 คน
4.ช่างเทคนิค 2 คน
5.ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน 1 คน
6.พนักงานวิสาหกิจ 1 คน
6.ลูกจ้างชั่วคราวรายวัน 7 คน
ข้อมูลการใช้งานน้ำ
ปีพ.ศ. | น้ำประปา (ลบ.ม.) | น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ (ลบ.ม.) |
---|---|---|
2560 | 111,386 | 0 |
2561 | 121,386 | 0 |
2562 | 169,381 | 0 |
ข้อมูลตามเกณฑ์การประเมิน
1.รายวิชาทั้งหมดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
2.จำนวนทุนวิจัยทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม
3.จำนวนทุนวิจัยทั้งหมด
4.จำนวนผลงานตีพิมพ์ที่เกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
5.จำนวนงานแสดงทางวิชาการที่เกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
6.จำนวนชมรมหรือองค์กรนิสิตที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม
ส่วนอำนวยการและสารบรรณ ไม่มีภารกิจที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามเกณฑ์การประเมินทั้ง 6 ข้อ
รักษ์โลกกันเถอะ
การลดกระดาษจากระบบ eSignature
ส่วนอำนวยการและสารบรรณ ได้รายงานผลสัมฤทธิ์การใช้ระบบบริหารจัดการสำนักงานดิจิทัล (DOMS) สำหรับบริหารจัดการงานสำนักงานของหน่วยงานต่าง ๆ และรายงานการประหยัดเงินงบประมาณค่ากระดาษจากการใช้ระบบ ปีงบประมาณ 2565 ประจำเดือนมิถุนายน 2565 โดยผู้บริหารและบุคลากรของมหาวิทยาลัยร่วมกันปฏิบัติงานต่างๆ โดยจัดทำในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สามารถลดการใช้กระดาษเฉพาะส่วนที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์จัดทำหนังสือทุกขั้นตอนแทนการดำเนินการในกระดาษ จำนวน 699,042 แผ่น ส่งผลให้ประหยัดงบประมาณค่ากระดาษให้กับมหาวิทยาลัย เป็นเงิน 111,846.72 บาท (หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นหนึ่งพันแปดร้อยสี่สิบหกบาทเจ็ดสิบสองสตางค์) และประหยัดค่าถ่ายเอกสารได้เป็นเงิน 237,674.28 บาท (สองแสนสามหมื่นเจ็ดพันหกร้อยเจ็ดสิบสี่บาทยี่สิบแปดสตางค์) รวมงบประมาณที่สามารถประหยัดได้จากการใช้ระบบ DOMS เป็นเงิน 349,521 บาท (สามแสนสี่หมื่นเก้าพันห้าร้อยยี่สิบเอ็ดบาทถ้วน) โดยเมื่อรวมการประหยัด กระดาษตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – มิถุนายน 2565 ส่งผลให้มหาวิทยาลัยประหยัดกระดาษ จำนวน 5,063,862 แผ่น คิดเป็นค่าประหยัดกระดาษ เป็นเงิน 810,213.28 บาท (แปดแสนหนึ่งหมื่นสองร้อยสิบสามบาทยี่สิบแปดสตางค์) และประหยัดค่าถ่ายเอกสารได้เป็นเงิน 1,808,358.36 บาท (หนึ่งล้านแปดแสนแปดพันสามร้อยห้าสิบแปดบาทสามสิบหกสตางค์) รวมงบประมาณที่สามารถประหยัดได้จากการใช้ระบบ DOMS เป็นเงิน 2,618,572.28 บาท (สองล้านหกแสนหนึ่งหมื่นแปดพันห้าร้อยเจ็ดสิบสองบาทยี่สิบแปดสตางค์)
การลดกระดาษจากระบบ eMeeting
3.งานสำนักงานเลขานุการ
กิจกรรม
eSignature
มหาวิทยาลัย มีนโยบาย และแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฯ ด้าน Transformation to Electronic Workflows Management โดยการใช้ e-Signature ของท่านอธิการบดี (ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญญวงศ์) ที่ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลง/พัฒนามหาวิทยาลัยฯ ไปสูองค์กรสมรรถนะสูง มีความทันสมัยด้านการบริหารจัดการและถูกต้องตามระเบียบที่มหาวิทยาลัยฯ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์กำหนดใช้วิธีการ eSignature 100% หากเรื่องใดมีกฎระเบียบหรือกฎหมายกำหนดไว้ให้ทำเป็นเอกสารหลักฐานหรือใช้การลงลายมือชื่อจริงด้วย ก็ให้หน่วยงานจัดทำเอกสารเพิ่มเติมควบคู่กับการใช้วิธีการ eSignature เท่าที่กฎระเบียบนั้นกำหนดและเท่าที่จำเป็น เพื่อเป็นการลดกระดาษ

แยกขยะ

การใช้รถไฟฟ้าในการให้บริการจัดส่งเอกสารไปรษณีย์
